เทศบาลตำบลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย
 
 
 
ถาม-ตอบกับเทศบาลตำบลแม่สาย เรื่อง “บ่อบำบัดน้ำเสีย”
 
1. ถาม: ทำไมจึงมีแนวคิดที่จะสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียขึ้นมา
ตอบ: เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาการบริ หารจัดการน้ำเสียที่เกิดจากสถานประกอบการ และอาคารบ้านเรือนอยู่อาศัยต้อง ปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ อีกทั้งบทบาทหน้าที่ขององค์กรปก ครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องมีการจั ดระบบการบริการสาธารณะในด้านสาธารณะสุข และสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการสิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย เป็นต้น
อนึ่ง การแก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสียในพ ื้นที่จัดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาล เป็นการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยเทศบาลได้กำหนดแนวทางแก้ไขโดยจัดให้มีระบบบำบัด และเนื่องจากเป็นกระบวนการที่ต้องมีข้อมูล รายละเอียด ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมในการวางระบบ จึงได้จ้างบริษัท คิวบิก สเปส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย โดยใช้เวลาศึกษาระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม 2551 – 13 สิงหาคม 2552 เป็นระยะเวลา 300 วัน มีแนวทางแก้ไขโดยรวบรวมเอาน้ำเสียจากบ้านเรือนรวบรวมไว้ผ่านระบ บท่อเข้าสู่บ่อผึ่งระบบเปิด เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนที่จะทำการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรร มชาติ ซึงในปัจจุบัน น้ำเสียได้ไหลลงสู่คลองเหมืองแดง คลองสันมะนะ คลองหนองบัว และคูเมือง แต่ระบบจัดการน้ำเสียรูปแบบใหม่ นี้จะรวบรวมเข้าสู่ระบบท่อทั้งหมด จึงลดปัญหากลิ่นเน่าเหม็นของน้ำ ขังตามร่องน้ำได้เป็นอย่างดี
 
 
2. ถาม: ทำไมโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำ เสียของเทศบาลตำบลแม่สายจึงมาสร้างในพื้นที่ของสำนักงานชลประทานอำเภอแม่สาย ซึ่งอยู่ติดกับชุมชน (พื้นที่ชุมชนเหมืองแดง)
ตอบ: จากการศึกษาความเหมาะสมโดยบริษัท คิวบิก สเปส จำกัด ได้เสนอพื้นที่ในสำนักงานชลประทานแม่สาย ด้วยสำนักงานชลประทานแม่สายนั้น เป็นพื้นที่ที่มีระดับต่ำกว่าพื้นที่ชุมชนโดยรอบ ซึ่งโดยปกติก็รองรับน้ำไหลจากชุมชนต่างๆอยู่แล้ว เช่น ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน และชุมชนเหมืองแดง ซึ่งน้ำเสียจากย่านตลาดการค้าไม้ลุงขน และบ้านผามควายไหลมารวมกันทำให้ เกิดน้ำเน่าเหม็น และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และเนื่องจากบริเวณสำนักงานชลประทานแม่สายมีขนาดพื้นที่ที่เหมา ะสมและเพียงพอ ประกอบกับเป็นที่ดินของทางราชกา รซึ่งได้รับอนุญาตก่อสร้างอย่างถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ
 
 
3. ถาม: บ่อบำบัดน้ำเสียทำให้มีกลิ่นรบกวนชาวบ้าน จริงหรือไม่ มีแนวทางป้องกัน/แก้ไขอย่างไร
ตอบ: การบำบัดน้ำเสียเป็นการปรับปรุง คุณภาพน้ำให้เป็นน้ำดี โดยมีขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียที่ ได้มาตรฐานคุณภาพ โดยขั้นแรก น้ำทิ้งจากท่อหรือรางระบายน้ำต่างๆจะถูกรวบรวมลงในท่อยาง (ท่อดำ) ขนาด 50 เซนติเมตร HDPE ซึ่งวางในลำเหมืองแล้วรวบรวมไปบำบัด ทำให้น้ำเสียในลำเหมืองที่ส่งกลิ่นเหม็นจะไม่มีกลิ่น ซึ่งในการบำบัดเป็นแบบชนิดบ่อผึ่ง โดยมีวิธีการบำบัดโดยเครื่องเต มออกซิเจนในน้ำ และ EM ที่นำมาเติมเพื่อช่วยย่อยสลายสิ่งปฏิกูลของเสียต่างๆ โดยมีแสงอาทิตย์ช่วยเป็นตัวเร่ง กระบวนการทำให้เกิดปัญหากลิ่นที ่เหม็นน้อยมากจนถึงไม่ได้กลิ่นเลย ตัวอย่างเช่น บ่อบำบัดน้ำเน่าเสียของเทศบาลนครเชียงรายที่ตั้งบริเวณหน้าสนาม กีฬากลางจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีชุมชนตั้งอยู่ใกล้เคียงโดยรอบบ่อบำบัด รวมทั้งโรงเรียน สำนักงาน อบจ.เชียงราย และร้านอาหารชื่อดัง (ร้านลาบสนามกีฬา) ที่แทบจะไม่ได้รับผลกระทบด้านกลิ่นจากบ่อบำบัดน้ำเสียเลย
 
 
4. ถาม: กระบวนการบำบัดของบ่อบำบัดน้ำเสีย เครื่องจักรทำงานดังรบกวนชาวบ้าน จริงหรือไม่ มีแนวทางป้องกัน/แก้ไขอย่างไร
ตอบ: ในส่วนของบ่อบำบัดน้ำเสียนั้น เครื่องสูบน้ำที่ใช้เป็นแบบจุ่ม ใต้น้ำ และอยู่ในบ่อสูบลึกจากระดับผิวดิน 9.50 เมตร และมีอาคารปิดคลุมจึงมีเสียงดัง น้อยมาก ส่วนเครื่องเติมอากาศในบ่อบำบัด เป็นเครื่องดูดอากาศแล้วพ่นลงในน้ำ (ไม่ใช่แบบใบพัดในบ่อเลี้ยงกุ้ง) ดังนั้นจึงมีระดับเสียงที่น้อยมาก และที่สำคัญตัวบ่อบำบัดนั้นตั้ง อยู่ห่างจากบ้านเรือนที่ใกล้ที่สุด (ย่านผามควาย) ประมาณไม่น้อยกว่า 16 เมตร โดยมีกำแพงคอนกรีตสูง 3 เมตร กั้นตลอดแนวถนนผามควาย และมีคลองระบายน้ำกว้าง 4 เมตร มีการปลูกไม้ยืนต้นโตเร็วกั้นเป็นแนวอีกชั้นหนึ่ง
 
 
5. ถาม: บ่อบำบัดน้ำเสียอาจจะไม่มีคุณภาพ น้ำเสียอาจจะทำให้ระบบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาลปนเปื้อนได้ จริงหรือไม่ มีแนวทางป้องกัน/แก้ไขอย่างไร
ตอบ: น้ำที่อยู่ในบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นแทบจะไม่สร้างปัญหาจากการที่น้ำซึมลงใต้ผิวดินถึงน้ำบาดาล เนื่องจากตัวบ่อนั้นมีระบบป้องก ันการรั่วซึมโดยที่พื้นมีการเทคอนกรีตรองพื้นและผนังบ่อบุแผ่นย าง HDPE (สีดำ) ไว้แล้ว และปูด้วยแผ่นยางรองอีกชั้นหนึ่ งซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากลจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น กับน้ำบาดาลแน่นอน แต่ในปัจจุบันน้ำทิ้งน้ำเสียที่ ออกมาจากอาคารบ้านเรือนนั้นกลับ ก่อมลพิษแก่คุณภาพดิน และน้ำใต้ดินมากกว่าจากร่องน้ำที่ไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ
 
 
6. ถาม: ภาพลักษณ์ ทัศนียภาพของโครงการบ่อบำบัดน้ำ เน่าเสีย ไม่น่าชื่นชม ไม่สวยงาม จริงหรือไม่
ตอบ: การสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียของเทศบาลตำบลแม่สายนั้น ได้ปรับให้มีการขุดบ่อบำบัดน้ำเสียไว้ถึง 3 บ่อด้วยกันซึ่งเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ มีการปรับปรุงร่องน้ำข้างถนนผามควายให้เป็นคลองระบายน้ำคอนกรีต เสริมเหล็ก ปลูกต้นไม้โดยรอบขอบบ่อ และแนวกำแพงสูง 3 เมตร ทำให้เป็นสวนสาธารณะและสถานที่ออกกำลังกายเพิ่มอีกแห่งหนึ่งของ เมืองแม่สายสำหรับชุมชนใกล้เคียง
 
 
7. ถาม: การบริหารจัดการที่ผ่านมาภาคราช การมักจะไม่ค่อยเอาใจใส่ ปล่อยปะละเลย อาจทำให้การบริหารจัดการบ่อบำบัดน้ำเสียของเทศบาลตำบลแม่สายเกิดปัญหาขึ้นได้ อาจจะไม่มีใครสนใจดูแล แก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านได้อย่างจริงจัง และจริงใจ เทศบาลตำบลแม่สายจะให้คำมั่นใจได้อย่างไรกับเรื่องนี้ และเทศบาลตำบลแม่สายมีมาตรฐานแค่ไหนที่จะรับประกันได้ว่า การบริหารจัดการด้านต่างๆ เช่น ปัญหามลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาของเมืองแม่สายในเรื่องน้ำ เน่าเสียจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่

ตอบ: การรวบรวมและบำบัดน้ำเสียจากชุมชนมาปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นนั้น มีหลักเกณฑ์และมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บังคับใช้อยู่ ซึ่งหน่วยงานของราชการที่กำกับดูแล รวมทั้งองค์กรเอกชน (NGO) ต่างๆ ตลอดจนภาคประชาชน สื่อมวลชนคอยสอดส่อง ตรวจสอบดูแลการบริหารจัดการตลอดเวลา ย่อมที่จะทำให้การบริหารจัดการนั้นปล่อยปะละเลยไม่ได้ ไม่เช่นนั้นผลลบอาจจะเกิดขึ้น การเอาใจใส่ดูแลในงานบริการสาธารณะนั้นเป็นหัวใจของการบริหารงานของเทศบาลตำบลแม่สายเพื่อประชาชนในท้องถิ่นอยู่แล้ว ในการบริหารจัดการระบบน้ำเสียใน เบื้องต้นภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ เทศบาลตำบลแม่สายได้ประสานองค์การจัดการน้ำเสีย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบ ร่วมกับเทศบาลตำบลแม่สายซึ่งทาง เจ้าหน้าที่จะคอยตรวจสอบคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้งานให้อยู่ในสภาพที่ดีเสมอ และมีอุปกรณ์สำรองไว้ในยามที่เครื่องขัดข้อง มีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำในบ่อบำบัดต่างๆ ก่อนที่จะทำการปล่อยน้ำดีออกไปทุกครั้งต้องมีการตรวจสอบก่อนทุกครั้งด้วย

 
 
8. ถาม: การมีบ่อบำบัดน้ำเน่าเสียส่งผลดีอย่างไรต่อคนแม่สายทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลตำบลแม่สายในระยะยาว
ตอบ: เทศบาลตำบลแม่สายได้จ้างบริษัท คิวบิก สเปส จำกัด ศึกษาความเหมาะสมและรายละเอียดในการบำบัดน้ำเสีย ในระยะ 20 ปี (2555 – 2575) ต้องบอกว่าเป็นผลดีกับคนแม่สายในภาพรวม การที่น้ำเน่าเสียนำมาบำบัดก่อน ที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติทำให้มั่นใจได้ว่า น้ำที่ปล่อยออกไปไม่มีสารพิษเจือปนตกค้างแน่นอน ซึ่งทำให้ผู้ที่นำน้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคไม่มีสารตกค้าง การนำน้ำมาทำการเกษตรก็ทำให้ข้าว พืชผัก ผลไม้ ตลอดจนสัตว์ต่างๆที่ใช้น้ำไม่มี สารตกค้างภายใน ปลอดภัยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค และแน่นอนผู้บริโภคก็คือ “ชาวแม่สายผู้ที่ปล่อยน้ำทิ้งน้ ำเสียออกมานั้นเอง”
 
 
9. ถาม: ชาวชุมชนเหมืองแดงหรือชุมชนใกล้ เคียงจะได้อะไรจากโครงการนี้บ้าง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้น ทางเทศบาลตำบลแม่สายมีนโยบาย
อย่างไรต่อการแก้ไขปัญหาที่อาจจะส่งผลกระทบขึ้นได้
ตอบ: ชุมชนใกล้เคียง (ชุมชนเหมืองแดง) ได้รับผลดีจากโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียมากมายหลายข้อ ได้แก่
- กลิ่นเหม็นจากน้ำทิ้งน้ำเสียในพื้นที่ชุมชนของท่านจะได้รับการรวบรวมเข้ามาสู่ระบบท่อ และลำเลียงสู่บ่อบำบัดให้เป็น้ำำดี ลดกลิ่นเหม็นได้มาก ทั้งนี้ ในโครงการต่อไปก็จะได้ดำเนินการ ทำท่อรองรับน้ำทิ้งจากบ้านเรือน ให้ครอบคลุมทั่วเมืองแม่สาย และร่องระบายน้ำก็จะเป็นระบบปิด เพื่อลดกลิ่นเหม็น และลดเสียงกระทบเมื่อมีรถขับผ่านทุกครั้ง
- มีการปรับปรุงที่รกร้าง และสร้างสระน้ำขนาดใหญ่ที่ในพื้นที่ให้เป็นพื้นที่สวนสาธารณะ เป็นที่ออกกำลังกาย มีแหล่งน้ำใช้สอยที่ดี สร้างทัศนียภาพที่ดีโดยรอบ (หลายจังหวัดได้ทำเป็นสถานที่พักผ่อนของชุมชนได้เป็นอย่างดี ไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวน)
- สามารสร้างอาชีพจากการจับปลา ด้วยบ่อบำบัดในบ่อที่ 2 และ 3 จะมีการนำพันธุ์ปลาลงมาเลี้ยง เพื่อเป็นการทดสอบคุณภาพของน้ำ โดยเฉพาะในบ่อที่ 3 เป็นน้ำดี สามารถจับปลาเพื่อรับประทานได้ (ในหลายจังหวัดเปิดให้ประชาชนจับปลาได้ โดยเฉพาะชุมชนโดยรอบ)
หากมีผลกระทบในด้านใดด้านหนึ่ง (ในกรณีที่มี) เป็นนโยบายของผู้บริหารเทศบาลที่จะดูแลปัญหาทุกข์สุขของประชาชน ในพื้นที่ หากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นทางเทศบาล ตำบลแม่สายจะรีบดำเนินการแก้ไขให้เร็วที่สุด และเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อไป
 
 
10. ถาม: ทำไมงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียถึงต้องใช้งบประมาณถึง 260 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง รายละเอียดเป็นอย่างไร
ตอบ: งบประมาณข้างต้นมาจากการที่เทศบาลตำบลแม่สายได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล สภาพน้ำเสีย แหล่งรวบรวมน้ำเสีย และพื้นที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย จากนั้น นำข้อมูลมาออกแบบประมาณราคา ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงบประมาณเพื่อดำเนินการพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อไป
 
 
11. ถาม: แล้วน้ำเสียที่ออกจากบ้านเรือนลงรางสาธารณะหรือท่อสาธารณะในพื้นที่ต่างๆก่อนเข้าสู่ท่อรวบรวมน้ำเสียไปบำบัด ซึ่งเป็นปัญหาในปัจจุบัน เทศบาลแก้ไขอย่างไร
ตอบ: - แผนงานระบบรวบรวมและบำบัดซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณ 260 ล้านบาทอยู่ในระหว่างการดำเนินงาน
- แผนงานปรับปรุงท่อและรางระบายน้ำในเขตชุมชนทั้งหมด ตอนนี้ได้ดำเนินการแล้วบางส่วนจากงบประมาณของเทศบาล และกำลังขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มเติม
 
 
 
 
ข้อมูลบำบัดน้ำเสียแม่สาย
 
 
 
 
วิธีแก้ปัญหาน้ำเสียของเมืองแม่สาย
 
 
 
 
 
 
 
 

เทศบาลตำบลแม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย
   
เลขที่ 68 หมู่ 8 ต.แม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130
โทร. 053-731288, 053-732828-9 , แฟกซ์ 053-731288 ต่อ 5
Email : saraban@maesai.go.th
 
Copyright © 2016-2017 www.measai.go.th. All Rights Reserved. Design by Chiangrai Enter Soft.
 
:: จำนวนผู้เยี่ยมชม 3674667 คน | ออนไลน์ขณะนี้ 13 คน ::

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น